ประโยชน์ของการทำสมาธิ (ไทยโพสต์)
ในช่วงแรกๆ ของการเริ่มฝึกปฏิบัติสมาธิ ผู้ปฏิบัติควรจะมีการให้อุบายกรรมฐานอย่างง่ายๆ แก่จิต เพื่อให้จิตไปมัดรวมอยู่กับอุบายกรรมฐาน จิตจึงจะสามารถแยกตัวเองเป็นอิสระออกมาจากความคิดได้ ซึ่งอาการที่จิตเดินทางออกจากความคิดนี้เองคือสิ่งที่เราเรียกกันว่า "สมาธิ"
การที่เราอบรมจิตจนได้สมาธิ ผลที่ตามมาคือจิตจะมีความตั้งมั่น และเมื่อจิตมีความตั้งมั่น ตัวสติปัญญาก็จะบังเกิดขึ้นตามมาเป็นลำดับ ตรงนี้นอกจากเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านจะต้องได้พบเจอแล้ว ยังสามารถได้ประโยชน์อย่างมากจากเจ้าตัวสติปัญญานี้อีกด้วย
สติปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิภาวนานี้มีความพร้อมที่จะถูกนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการทำงาน ตลอดจนการแก้ปัญหาสถานการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงก็ตาม
บางคนหากไม่ได้สังเกตก็อาจไม่ทันรู้ตัวว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นเป็นผลมาจากสติปัญญาอันเกิดจากการปฏิบัติสมาธิภาวนานั่นเอง
ความแตกต่างที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนหลังจากที่ได้ปฏิบัติสมาธิภาวนาอย่างจริงจังคือ เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราจะค่อยๆ เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ หากจะอธิบายด้วยเหตุผลทางโลกก็คงจะเป็นเพราะเราเกิดมีภูมิปัญญาในการใช้ชีวิต จึงทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น ซึ่งอย่างน้อยที่สุดพอเราเกิดภูมิปัญญา มุมมองแง่คิดในการดำเนินชีวิตของเราจะเริ่มเปลี่ยนไปในทางบวก
แต่ถ้าในมุมของทางธรรมแล้ว บุญกุศลอันเกิดจากความเพียรปฏิบัติสมาธิได้ช่วยขัดเกลาจิตใจให้ใสสะอาด เพราะทุกวันนี้เราอยู่ท่ามกลางดงของความคิด ซึ่งถ้าเราอยู่เฉยๆ เราคงต้องเอาความคิดมาเป็นเครื่องรู้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อันที่จริงแล้วจิตนั้นก็คือธาตุรู้หรือมโนธาตุก่อนที่จะแปดเปื้อนด้วยความคิดต่างๆ รอเพียงการอบรมจิต ฝึกสมาธิกันอย่างง่ายๆ ก็จะสามารถกลับไปสู่ความเดิมแท้ของมันได้
อาการเดิมแท้จะเท่ากันหมด คือความรู้สึกทางกายน้อยลง ความคิดน้อยลง ถ้าใช้อุบายกรรมฐานเข้าไปช่วย เราจะเห็นได้ถึงกระบวนการคืนกลับสู่จิตเดิมแท้ว่าจิตกับกายมันจะแยกจากกัน เพราะกายนั้นเป็นของหยาบ ส่วนจิตเป็นของละเอียด กายเป็นรูป ส่วนจิตเป็นนาม
ในภาวะปกติเราจะถูกสั่งการและควบคุมโดยสมอง แล้วเราก็เชื่อว่าสมองควบคุมทุกอย่างในร่างกายไม่เว้นแม้กระทั่งความคิด แต่หลักการของการปฏิบัติสมาธิภาวนากลับมุ่งเน้นที่จะใช้อุบายกรรมฐานไปทำให้ความคิดสงบตัวลง
การที่เรานั่งคิดไปเรื่อยๆ ไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติสมาธิภาวนา ทีนี้เคล็ดลับของการปฏิบัติสมาธิภาวนาให้ได้สมาธินั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การให้เครื่องรู้แก่จิต ผู้ปฏิบัติจึงควรเลือกกรรมฐานอันใดอันหนึ่งให้ไปอยู่กับจิต พอสิ่งนี้ไปอยู่กับจิต จิตจะมีเครื่องรู้ เมื่อจิตกับเครื่องรู้ใหม่รวมกันแน่น จิตก็จะออกไปจากความคิด อาศัยความตั้งใจและใส่ใจในขั้นตอนนี้ แล้วผู้ปฏิบัติจะได้เห็นถึงคุณสมบัติอันวิเศษของจิต ซึ่งในยามที่กิเลสต่างๆ สงบตัวลง ก็ไม่ต่างอะไรไปจากน้ำใสๆ
แต่หากน้ำเริ่มถูกกวนให้ขุ่นมัวเมื่อใด ก็เป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นกิเลสภายในจิตใจ ต้องรอจนกว่าจิตสงบตัวลงจึงจะมองเห็นได้ถึงอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในใจเรา ประกอบกับการที่เรามีสติก็จะทำให้มองเห็นและเท่าทันในอารมณ์นั้น เมื่อไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ ก็ปราศจากความคิดที่จะชักนำให้ทำร้ายหรือเบียดเบียนตัวเองและผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน
เพียงแค่ได้สมาธิในระดับเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติก็สามารถใช้พลังจิตแผ่เมตตาให้กับคนที่ใกล้ชิด ตลอดจนเวลาที่ต้องไปพบปะใครๆ เพื่อติดต่อเรื่องงานก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน การแผ่เมตตาจะช่วยให้สองฝ่ายมีความรักและความเมตตาต่อกัน ไม่ว่าคนผู้นั้นจะรู้สึกนิยมชมชอบในตัวเราหรือจะเป็นคู่อริกันก็ตาม
การแผ่เมตตาโดยไม่ประมาณจะสามารถเปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจของผู้ที่ไม่ชอบเราให้กลับมาเป็นมิตรได้เป็นแน่ ขอเพียงเรามีความตั้งมั่นและเชื่อในสิ่งที่กำลังกระทำ ทั้งนี้เพราะพลังเมตตานั้นเป็นพลังบวก จึงเป็นส่วนสำคัญของการปฏิบัติแล้วจะได้ผลดี
ลองเริ่มสังเกตดูแล้วจะพบปรากฏการณ์เชิงบวกว่า นอกจากเราจะไม่เบียดเบียนตนเองแล้ว เรายังเริ่มที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นอีกด้วย...
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ในช่วงแรกๆ ของการเริ่มฝึกปฏิบัติสมาธิ ผู้ปฏิบัติควรจะมีการให้อุบายกรรมฐานอย่างง่ายๆ แก่จิต เพื่อให้จิตไปมัดรวมอยู่กับอุบายกรรมฐาน จิตจึงจะสามารถแยกตัวเองเป็นอิสระออกมาจากความคิดได้ ซึ่งอาการที่จิตเดินทางออกจากความคิดนี้เองคือสิ่งที่เราเรียกกันว่า "สมาธิ"
การที่เราอบรมจิตจนได้สมาธิ ผลที่ตามมาคือจิตจะมีความตั้งมั่น และเมื่อจิตมีความตั้งมั่น ตัวสติปัญญาก็จะบังเกิดขึ้นตามมาเป็นลำดับ ตรงนี้นอกจากเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านจะต้องได้พบเจอแล้ว ยังสามารถได้ประโยชน์อย่างมากจากเจ้าตัวสติปัญญานี้อีกด้วย
สติปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิภาวนานี้มีความพร้อมที่จะถูกนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการทำงาน ตลอดจนการแก้ปัญหาสถานการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงก็ตาม
บางคนหากไม่ได้สังเกตก็อาจไม่ทันรู้ตัวว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นเป็นผลมาจากสติปัญญาอันเกิดจากการปฏิบัติสมาธิภาวนานั่นเอง
ความแตกต่างที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนหลังจากที่ได้ปฏิบัติสมาธิภาวนาอย่างจริงจังคือ เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราจะค่อยๆ เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ หากจะอธิบายด้วยเหตุผลทางโลกก็คงจะเป็นเพราะเราเกิดมีภูมิปัญญาในการใช้ชีวิต จึงทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น ซึ่งอย่างน้อยที่สุดพอเราเกิดภูมิปัญญา มุมมองแง่คิดในการดำเนินชีวิตของเราจะเริ่มเปลี่ยนไปในทางบวก
แต่ถ้าในมุมของทางธรรมแล้ว บุญกุศลอันเกิดจากความเพียรปฏิบัติสมาธิได้ช่วยขัดเกลาจิตใจให้ใสสะอาด เพราะทุกวันนี้เราอยู่ท่ามกลางดงของความคิด ซึ่งถ้าเราอยู่เฉยๆ เราคงต้องเอาความคิดมาเป็นเครื่องรู้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อันที่จริงแล้วจิตนั้นก็คือธาตุรู้หรือมโนธาตุก่อนที่จะแปดเปื้อนด้วยความคิดต่างๆ รอเพียงการอบรมจิต ฝึกสมาธิกันอย่างง่ายๆ ก็จะสามารถกลับไปสู่ความเดิมแท้ของมันได้
อาการเดิมแท้จะเท่ากันหมด คือความรู้สึกทางกายน้อยลง ความคิดน้อยลง ถ้าใช้อุบายกรรมฐานเข้าไปช่วย เราจะเห็นได้ถึงกระบวนการคืนกลับสู่จิตเดิมแท้ว่าจิตกับกายมันจะแยกจากกัน เพราะกายนั้นเป็นของหยาบ ส่วนจิตเป็นของละเอียด กายเป็นรูป ส่วนจิตเป็นนาม
ในภาวะปกติเราจะถูกสั่งการและควบคุมโดยสมอง แล้วเราก็เชื่อว่าสมองควบคุมทุกอย่างในร่างกายไม่เว้นแม้กระทั่งความคิด แต่หลักการของการปฏิบัติสมาธิภาวนากลับมุ่งเน้นที่จะใช้อุบายกรรมฐานไปทำให้ความคิดสงบตัวลง
การที่เรานั่งคิดไปเรื่อยๆ ไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติสมาธิภาวนา ทีนี้เคล็ดลับของการปฏิบัติสมาธิภาวนาให้ได้สมาธินั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การให้เครื่องรู้แก่จิต ผู้ปฏิบัติจึงควรเลือกกรรมฐานอันใดอันหนึ่งให้ไปอยู่กับจิต พอสิ่งนี้ไปอยู่กับจิต จิตจะมีเครื่องรู้ เมื่อจิตกับเครื่องรู้ใหม่รวมกันแน่น จิตก็จะออกไปจากความคิด อาศัยความตั้งใจและใส่ใจในขั้นตอนนี้ แล้วผู้ปฏิบัติจะได้เห็นถึงคุณสมบัติอันวิเศษของจิต ซึ่งในยามที่กิเลสต่างๆ สงบตัวลง ก็ไม่ต่างอะไรไปจากน้ำใสๆ
แต่หากน้ำเริ่มถูกกวนให้ขุ่นมัวเมื่อใด ก็เป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นกิเลสภายในจิตใจ ต้องรอจนกว่าจิตสงบตัวลงจึงจะมองเห็นได้ถึงอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในใจเรา ประกอบกับการที่เรามีสติก็จะทำให้มองเห็นและเท่าทันในอารมณ์นั้น เมื่อไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ ก็ปราศจากความคิดที่จะชักนำให้ทำร้ายหรือเบียดเบียนตัวเองและผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน
เพียงแค่ได้สมาธิในระดับเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติก็สามารถใช้พลังจิตแผ่เมตตาให้กับคนที่ใกล้ชิด ตลอดจนเวลาที่ต้องไปพบปะใครๆ เพื่อติดต่อเรื่องงานก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน การแผ่เมตตาจะช่วยให้สองฝ่ายมีความรักและความเมตตาต่อกัน ไม่ว่าคนผู้นั้นจะรู้สึกนิยมชมชอบในตัวเราหรือจะเป็นคู่อริกันก็ตาม
การแผ่เมตตาโดยไม่ประมาณจะสามารถเปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจของผู้ที่ไม่ชอบเราให้กลับมาเป็นมิตรได้เป็นแน่ ขอเพียงเรามีความตั้งมั่นและเชื่อในสิ่งที่กำลังกระทำ ทั้งนี้เพราะพลังเมตตานั้นเป็นพลังบวก จึงเป็นส่วนสำคัญของการปฏิบัติแล้วจะได้ผลดี
ลองเริ่มสังเกตดูแล้วจะพบปรากฏการณ์เชิงบวกว่า นอกจากเราจะไม่เบียดเบียนตนเองแล้ว เรายังเริ่มที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นอีกด้วย...
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น